This is default featured slide 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

เกี่ยวกับฉัน

ผมชื่อ นายธนกฤต สืบบุญประเทือง ที่อยู่ โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1

การสื่อสารในอนาคต

https://www.youtube.com/watch?v=WbOm5IuVfCA&hd=1

บทความที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

ระบบการสื่อสารและคุณสมบัติ 3 ประการ


ส่วนประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล
ระบบการสื่อสารข้อมูล คือ กระบวนการถ่ายโอนข้อมูล/สารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข่าวสารผ่านสื่อกลาง เพื่อส่งไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการ แต่ทั้งนี้ การสื่อสารข้อมูลจะสัมฤทธิ์ผลและมีความสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อครบส่วนประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล โดยประกอบด้วย
1.         ข่าวสาร (Message)
2.         ผู้ส่ง/แหล่งกำเนิดข่าวสาร (SenderSource)
3.         ผู้รับ/จุดหมายปลายทาง (Receiver/Destination)
4.         สื่อกลางส่งข้อมูล (Transmission Medium)
5.         โปรโตคอล (Protocol)

ข่าวสาร (Message)
            ข่าวสารในที่นี้ คือ ข้อมูลหรือสาระสนเทศต่างๆ ที่อาจเป็นข้อความ ตัวเลข รูปภาพ เสียง และวีดีโอ ข่าวสารที่ส่งไปจะต้องได้รับเข้ารหัส (Encoding) เพื่อส่งผ่านสื่อกลาง ครั้นเมื่อปลายทางได้รับข้อมูล ก็จะทำการถอดรหัส (Decoding) ให้กลับมาเป็นข้อมูลดั้งเดิมเช่นเดียวกับที่จะส่งมา อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่ลำเลียงข่าวสารผ่านสื่อกลาง อาจมีสัญญาณรบกวนปะปนมากับข่าวสารได้

ผู้ส่ง (Sender/Source)
            ผู้ส่งหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งขาวสาร ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ เวิร์กสเตชั่น โทรศัพท์ กล้องวีดีโอ เป็นต้น

ผู้รับ (Receiver/Destination)
            ผู้รับหรือจุดหมายปลายทาง คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับข่าวสาร ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ เวิร์กสเตชั่น โทรศัพท์ กล้องวีดีโอ เป็นต้น
สื่อกลางข้อมูล (Transmission Medium)
            สื่อกลางส่งข้อมูลในที่นี่ คือ เส้นทางเชิงกายภาพที่ใช้สำหรับการลำเลียงข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ ตัวอย่างสื่อกลางส่งข้อมูล เช่น สายโคแอกเชียล สายคู่บิดเกลียว สายไฟเบอร์ออปติก และคลื่นวิทยุ เป็นต้น

โปรโตคอล (Protocol)
            โปรโตคอล คือ กลุ่มของกฎเกณฑ์และข้อปฏิบัติต่างๆที่กำหนดขึ้นมา เพื่อนำมาใช้เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับเพื่อทำให้การสื่อสารบรรลุผล ถึงแม้อุปกรณ์ทั้งสองฝั่งจะเชื่อมต่อถึงกันได้ก็ตาม หากปราศจากโปรโตคอล ก็จะไม่สามารถสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจ ส่งผลให้การสื่อสารล้มเหลวในที่สุด ตัวอย่างเช่น คนหนึ่งพูดภาษาฝรั่งเศส อีกคนหนึ่งพูดภาษาญี่ปุ่น ทำให้สื่อสารพูดคุยกันไม่รู้เรื่อง




คุณสมบัติพื้นฐาน 3 ประการของการสื่อสารข้อมูล (Three Funfamental Characteristics of Data Communication)
                       
เมื่อการสื่อสารข้อมูลได้เกิดขึ้นอุปกรณ์การสื่อสารจะต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการสื่อสาร ด้วยการรวมส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผลการดำเนินงานจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติพื้นฐาน 3 ประการ คือ
1.         การส่งมอบ (Delivery) ระบบจะต้องสามารถส่งมอบข้อมูลไปยังจุดมุ่งหมายปลายทางได้อย่างถูกต้อง ข้อมูลที่ส่งไปจะต้องไปยังอุปกรณ์ตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการ
2.         ความถูกต้องแน่นอน (Accuracy) ระบบสื่อสารจะต้องส่งมอบข้อมูลได้อย่างเที่ยงตรง สำหรับระบบการสื่อสารที่ดี ควรมีการส่งสัญญาณเตือนไปยังผู้ส่ง/ผู้รับให้รับทราบ กรณีที่การส่งข้อมูลในขณะนั้นล้มเหลวหรือข้อมูลสูญหาย
3.         ระยะเวลา (Timeliness) ระบบจะต้องส่งมอบข้อมูลไปยังปลายทางภายในระยะเวลาที่เหมาะสม โดย คำว่าระยะเวลาที่เหมาะสมนั้นหมายถึง ทันต่อเหตุการณ์ในการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งนี้ในแต่ละระบบจะตอบสนองเวลาที่เหมาะสมแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น ระบบเรียลไทม์ (Real-Time Transmission) เป็นระบบที่ตอบสนองแบบทันทีทันใด จึงจำเป็นต้องใช้สายสื่อสารและอุปกรณ์รับส่งข้อมูลความเร็วสูง ในขณะที่การรับส่งอีเมล์ ระยะเวลาฉับพลันนั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญ

การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีในการคมนาคม


อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.nectec.or.th/index.php/2011-08-03-09-53-39/111-its-.html


ITS เทคโนโลยีปฏิรูปการเดินทาง


its-0001
ารพัฒนาเทคโนโลยี นับเป็นความก้าวหน้าของมนุษย์ในการนำเอาความรู้ในหลายๆ ด้าน มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการเดินทาง ก็เป็นกุญแจสำคัญดอกหนึ่งของการใช้ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะศาสตร์ด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อช่วยให้ประชาชนและสังคม สามารถเข้าถึงและใช้งานเทคโนโลยี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ หรือ ITS - Intelligent Transport Systems เป็นระบบที่หลอมรวมเอาเทคโนโลยีด้านข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ และ โทรคมนาคม มาผสมผสานให้เกิดการประยุกต์ใช้งาน เช่น เทคโนโลยีประมวลผลภาพ (Image Processing) เทคโนโลยีการระบุตัวตนด้วยความถี่คลื่นวิทยุ(RFID) เทคโนโลยี การสื่อสารไร้สาย(Wireless Communication) เทคโนโลยีรู้จำเสียง (Voice Recognition) เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) เทคโนโลยีคลังข้อมูล (Data Mining) เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Data Warehouse) เทคโนโลยีตรวจจับหรือรับรู้(Sensor) เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง การควบคุม การติดตาม รวมไปถึงความปลอดภัยในการเดินทาง ด้วยเทคโนโลยีอันชาญฉลาดเหล่านี้ จะสามารถบริหารจัดการการจราจรให้เป็นระบบ และตอบสนองต่อความจำเป็นของการขนส่งและเดินทางในประเทศได้ในระดับหนึ่ง เช่น ช่วยลดอุบัติเหตุ แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด และปัญหาสิ่งแวดล้อม
ท่านสามารถทดลองใช้ระบบดังกล่าวได้ที่ http://traffic.thai.net
its-0002its-0003

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม