เกี่ยวกับฉัน

ผมชื่อ นายธนกฤต สืบบุญประเทือง ที่อยู่ โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1

การสื่อสารในอนาคต

https://www.youtube.com/watch?v=WbOm5IuVfCA&hd=1

บทความที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีในการคมนาคม


อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.nectec.or.th/index.php/2011-08-03-09-53-39/111-its-.html


ITS เทคโนโลยีปฏิรูปการเดินทาง


its-0001
ารพัฒนาเทคโนโลยี นับเป็นความก้าวหน้าของมนุษย์ในการนำเอาความรู้ในหลายๆ ด้าน มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการเดินทาง ก็เป็นกุญแจสำคัญดอกหนึ่งของการใช้ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะศาสตร์ด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อช่วยให้ประชาชนและสังคม สามารถเข้าถึงและใช้งานเทคโนโลยี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ หรือ ITS - Intelligent Transport Systems เป็นระบบที่หลอมรวมเอาเทคโนโลยีด้านข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ และ โทรคมนาคม มาผสมผสานให้เกิดการประยุกต์ใช้งาน เช่น เทคโนโลยีประมวลผลภาพ (Image Processing) เทคโนโลยีการระบุตัวตนด้วยความถี่คลื่นวิทยุ(RFID) เทคโนโลยี การสื่อสารไร้สาย(Wireless Communication) เทคโนโลยีรู้จำเสียง (Voice Recognition) เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) เทคโนโลยีคลังข้อมูล (Data Mining) เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Data Warehouse) เทคโนโลยีตรวจจับหรือรับรู้(Sensor) เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง การควบคุม การติดตาม รวมไปถึงความปลอดภัยในการเดินทาง ด้วยเทคโนโลยีอันชาญฉลาดเหล่านี้ จะสามารถบริหารจัดการการจราจรให้เป็นระบบ และตอบสนองต่อความจำเป็นของการขนส่งและเดินทางในประเทศได้ในระดับหนึ่ง เช่น ช่วยลดอุบัติเหตุ แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด และปัญหาสิ่งแวดล้อม
ท่านสามารถทดลองใช้ระบบดังกล่าวได้ที่ http://traffic.thai.net
its-0002its-0003


องค์ประกอบของ ITS
ITS ไม่ใช่ชื่อของเทคโนโลยีโดยตรงแต่เป็นชื่อที่ใช้เรียกแนวคิดของการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และโทรคมนาคม มาใช้ปรับปรุงการขนส่งและการจราจร โดยมีหัวใจหลักสำคัญคือการประมวลผลข้อมูลและข้อสนเทศที่มีอยู่ผ่านระบบสารสนเทศและการสื่อสาร และนำมาเผยแพร่ แลกเปลี่ยน ระหว่างผู้ใช้และผู้ให้บริการ
ส่วนระบบอัจฉริยะ นั้นเป็นการใช้คำเชิงเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีที่มีมาก่อนหน้า ยกตัวอย่าง เช่น หากรถยนต์มีอุปกรณ์ ที่สามารถสื่อสารและรับข้อมูลปริมาณการจราจรเพื่อวิเคราะห์และให้คำแนะนำแก่ผู้ขับขี่ได้ว่า เส้นทางใดเป็นเส้นทางที่เหมาะสมสำหรับเวลานั้น ต่างจากเดิมที่ผู้ขับจะต้องตัดสินเอง โดยไม่มีข้อมูลหรือคำแนะนำใดๆ มาช่วยตัดสินใจเลย ความสามารถของระบบ ที่เพิ่มขึ้นนี้ถือได้ว่า มีความอัจฉริยะ ความอัจฉริยะของยานพาหนะและระบบขนส่งที่กล่าวมานั้นอาจก้าวหน้าถึงขั้นเข้ามาทำหน้าที่แทนมนุษย์ เช่น รถยนต์สามารถขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติและติดต่อสื่อสารระหว่างรถยนต์กันได้เอง ตลอดจนติดต่อสื่อสารกับศูนย์ข้อมูลจราจรเพื่อสอบถามข้อมูล ปริมาณการจราจร จุดเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน หรือจุดที่มีการก่อสร้าง เพื่อวิเคราะห์และเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทาง รวมถึงรายงานสภาพการณ์บนท้องถนน การติดตามรถ หรือระบบจัดเก็บค่าผ่านทางโดยอัตโนมัติ
its-0004
ปัจจุบัน ITS เน้นไปที่การขนส่งและจราจรบนถนนเป็นหลักเนื่องจากเป็นประเภทการเดินทางที่เกิดขึ้นมากที่สุด และยังกระทบกับประชาชนจำนวนมาก บทความนี้ได้นำเอาการแบ่งประเภทของการนำเอา ITS มาใช้ในงานด้านขนส่งและจราจรของประเทศญี่ปุ่นมาดัดแปลง โดยแบ่งออกเป็นแปดด้านดังนี้
1. ระบบนำทางขั้นก้าวหน้า (Advances in Navigation Systems) ระบบนี้จะช่วยให้ผู้ขับขี่ มีความสะดวกสบายในการเดินทาง เพราะผู้ขับขี่สามารถทราบข้อมูลในรูปของเส้นทางบนแผนที่ ซึ่งจะแสดงเส้นทางจากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดปลายทาง เช่น ข้อมูลสถานที่จอดรถ ที่พักอาศัย เส้นทางที่มีการก่อสร้าง รวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับจุดหมายปลายทาง นอกจากการแสดงแผนที่แล้ว ระบบนำทางดังกล่าว ยังสามารถพัฒนาให้แนะนำเส้นทางการขับขี่อย่างละเอียดโดยมีคำแนะนำเป็นเสียงพูด เช่น เตือนให้เปลี่ยนเลนเพื่อเตรียมเลี้ยวซ้ายหรือขวา เตือนให้เตรียมตัวกลับรถ การบอกทางเพื่อให้กลับสู่เส้นทางเดิมกรณีขับขี่ผิดทาง  การพัฒนาขั้นต่อไปของระบบนี้ อาจถึงขั้นแนะนำข้อมูลประกอบการขับขี่อื่นๆ เช่น เสียงเตือนให้ลดอัตราเร็วเนื่องจากข้างหน้าเป็นทางโค้ง และอนาคตอาจสามารถเชื่อมต่อข้อมูลการจราจรกับศูนย์ข้อมูลจราจร จนทำให้ระบบสามารถทำงานได้หลากหลาย คือ  แนะนำเส้นทางที่มีการจราจรเบาบางได้ หรือแนะแนะให้หลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีการจราจรหนาแน่นโดยที่ผู้ขับขี่ยังไม่ได้เดินทางไปถึงบริเวณดังกล่าว ให้ข้อมูลเส้นทางที่มีการก่อสร้าง ปิดถนน หรืออุบัติเหตุให้ข้อมูลเกี่ยวกับจุดสนใจหรือสถานที่แวะพักต่างๆ เช่น ปั๊มน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ที่จอดรถ คำนวณระยะเวลาเดินทางที่สอดคล้องตามสภาพการจราจร จะเห็นได้ว่าการแนะนำ เส้นทางจะมิได้อยู่บนพื้นฐานเส้นทางที่มีระยะทางสั้นที่สุดเพียงเงื่อนไขเดียว แต่จะเป็นการรวมเอาเงื่อนไขต่างๆ เข้ามาคำนวณร่วมด้วย เพื่อให้ได้เส้นทางที่ใกล้กับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด และระบบยังสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่น่าสนใจรอบข้างทางและ   จุดหมายปลายทาง รวมทั้งแนะนำให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่จอดรถเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ขับขี่อีกด้วย
its-0014
2. ระบบเก็บเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Toll Collection) ระบบนี้จะช่วยผู้เดินทางไม่ต้องหยุดรถหรือชะลอรถเพื่อจ่ายค่าผ่านทาง ช่วยลดระยะเวลาและแก้ปัญหาจราจรที่ด่านเก็บเงิน  และช่วยอำนวยความสะดวกในการผ่าน เข้าออกพื้นที่ควบคุม  หรือเส้นทางพิเศษบางประเภท เพื่อให้การผ่านเข้าออกสามารถทำได้สะดวกรวดเร็ว หลักการทำงานของระบบนี้คืออุปกรณ์ที่ติดกับ ตัวรถจะสื่อสารกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ติดอยู่ที่ด่านหรือจุดเฉพาะสำหรับตรวจสอบการเข้าออกพื้นที่ควบคุมหรือเส้นทางพิเศษ  การสื่อสารจะทำโดยอาศัยเทคนิคการสื่อสารแบบไร้สาย และรถยนต์สามารถวิ่งผ่านไปมาได้โดยไม่ต้องหยุดจอดรอเพื่อชำระค่าผ่านทาง การชำระเงินอาจเป็นลักษณะซื้อบัตรและชำระล่วงหน้า แล้วทำการตัดค่าผ่านทางจากยอดเงินที่มีในบัตร หรืออาจเป็นการตัดค่าผ่านทางจากระบบบัตรเครดิต บัญชีธนาคาร หรือชำระตามร้านสะดวกซื้อ ตัวอย่างของประเทศที่ใช้ระบบนี้ เช่น ที่เมืองลอนดอนในประเทศอังกฤษซึ่งมีปริมาณการจราจรหนาแน่นมาก ได้มีการกำหนดให้เรียกเก็บค่าเข้าพื้นที่สำหรับผู้ที่ต้องการนำรถยนต์เข้าในบริเวณพื้นที่เมืองชั้นใน ทั้งนี้เพื่อลดความคับคั่งของปริมาณจราจรตลอดจนมลภาวะลงหรือในประเทศออสเตรเลียและจีน ได้มีการติดตั้งระบบเก็บเงินอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว ไว้ที่ด่านเก็บค่าผ่านทางของทางด่วน ทำให้รถยนต์ที่วิ่งผ่านสามารถวิ่งผ่านด้วยความเร็วสูง และการใช้ทางด่วนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. ระบบช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการขับขี่ (Assistance for Safe Driving) เป็นระบบที่มีการติดตั้งตัวเก็บข้อมูลในบริเวณต่างๆ บนท้องถนนโดยการรวบรวมข้อมูลของตำแหน่ง และการเคลื่อนที่ของยานพาหนะในบริเวณรอบๆ รวมไปถึงสิ่งกีดขวางต่างๆ ที่อยู่ข้างหน้า โดยผ่านเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งอยู่บนถนนและที่ตัวรถ หลังจากนั้นข้อมูลจะถูกจัดส่งให้กับผู้ขับขี่รถแต่ละคนในขณะนั้นแบบ Real Time ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ขับขี่เดินทางได้อย่างปลอดภัย ระบบดังกล่าว นอกจากจะช่วยให้ผู้ขับขี่ได้รับข้อมูลหรือการแจ้งเตือนล่วงหน้าเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่แล้ว ยังนำมาใช้เพื่อรักษาชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่นด้วย เช่น การมีเซ็นเซอร์ตรวจจับคนข้ามถนน ในบริเวณทางโค้งหักศอกที่เป็นมุมอับสายตาสำหรับผู้ขับขี่ หรือตรวจจับและระวังการวิ่งตัดหน้ารถโดยเด็กเล็กหรือผู้ที่ขาดความระมัดระวัง นอกจากนี้ยังสามารถตรวจจับรถยนต์หรือจักรยานยนต์ที่วิ่งหรือกำลังจะวิ่งมาตัดหน้า ตรวจจับสภาพอากาศและสภาพถนน  เพื่อเตือนในกรณีที่ถนนลื่น หรือทัศนวิสัยไม่ดีก่อนที่จะขับขี่ไปถึงบริเวณดังกล่าว ในอนาคตอันใกล้อาจมีอุปกรณ์ที่ติดตั้งภายในรถเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการควบคุมรถ เช่น ระบบช่วยเบรคหรือควบคุมพวงมาลัยแบบอัตโนมัติ เมื่อพบสิ่งกีดขวาง และเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งอยู่ใน ตัวรถยนต์ ก็สามารถส่งข้อมูลและติดต่อสื่อสารกับรถยนต์คันอื่นๆ หรือกับเซ็นเซอร์ข้างถนนได้ด้วย ทั้งนี้เพื่อเตือนให้รถยนต์หรือผู้ใช้ทางเท้าได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหรือเพื่อให้เกิดความระมัดระวังเพิ่มขึ้น
its-0005
4. ระบบการบริหารจัดการจราจรอย่างมีประสิทธิภาพ (Optimization of Traffic Management) ระบบนี้จะจัดการการจราจรบริเวณทางแยก หรือบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ โดยผู้ให้บริการแจ้งเหตุการณ์ เช่น การตรวจจับ อุบัติเหตุ และให้ข้อมูลการควบคุม การจราจร นอกจากนี้ยังแนะนำเส้นทาง แก่ผู้ขับขี่ผ่านมอนิเตอร์ที่ติดตั้งในรถ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการควบคุมการจราจร ไม่เพียงแต่ ในพื้นที่ ที่มีการจราจรที่ติดขัดเท่านั้นแต่รวมถึงเส้นทางการจราจรทั้งหมด ได้มีการคาดการณ์กันว่า เมื่อการเชื่อมต่อและสื่อสารแบบ สองทาง ระหว่างผู้เดินทางและศูนย์บริหารจัดการจราจรเกิดขึ้นในวงกว้างแล้ว จะสามารถสื่อสารกันแบบสองทางได้อย่างสะดวก ทั้งในรถยนต์ ที่บ้าน ที่ทำงาน หรือผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่นโทรศัพท์มือถือ โดยศูนย์บริหารจัดการจราจรจะนำเอาข้อมูลความต้องการเดินทางของผู้เดินทางมาคำนวณวิเคราะห์เพื่อการกระจายปริมาณการจราจรออกไป เพื่อให้ระบบขนส่งโดยรวมมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยจะเป็นการแนะนำเส้นทางที่ไม่ใช่การแนะนำให้ทุกคนเลือกใช้เส้นทางที่เบาบางในขณะนั้นเหมือนกันหมด นอกจากนี้ยังสามารถแนะนำให้หลีกเลี่ยงเส้นทางที่เกิดอุบัติเหตุ มีการก่อสร้าง หรือมีการปิดถนนได้ด้วย
5. การสนับสนุนระบบขนส่งมวลชนหรือขนส่งสาธารณะ (Support for Public Transport) เป็นการอำนวยความสะดวกสบายให้ผู้ใช้บริการระบบขนส่งมวลชน ให้เกิดความยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนถ่าย การเข้าและออกจากระบบขนส่งมวลชนตามเวลาที่สอดคล้องกัน ระบบสนับสนุนต่างๆ  จึงมีความจำเป็น เช่น สถานะการให้บริการของระบบขนส่งมวลชนประเภทต่างๆ ตำแหน่งและจำนวนที่นั่งว่าง ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และที่จอดรถ ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้สามารถส่งผ่านไปยังช่องทางต่างๆ หลายช่องทาง ได้แก่ ที่พักอาศัยและที่ทำงาน  อุปกรณ์ในรถยนต์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ ตลอดจนจุดติดตั้งข้างถนน ป้ายหยุดรถประจำทาง และสถานีขนส่ง เพื่อให้ผู้เดินทางสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและนำมาซึ่งการใช้งานระบบขนส่งมวลชนอย่างสะดวกและปลอดภัย
6. การเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการเกี่ยวกับรถเพื่อการพาณิชย์ (Increasing Efficiency in Commercial Vehicles Operations) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการขนส่งสินค้า ต้องมีศูนย์รวบรวมและจัดเก็บสถานะการใช้งานรถขนส่งสินค้าทั้งหมด เช่น ตำแหน่งของรถขนส่งในระหว่างขนส่ง จุดแวะพักหรือขนถ่ายสินค้า จุดเริ่มต้นและจุดปลายทาง แล้วกระจายข้อมูลเหล่านี้ในฐานะข้อมูลพื้นฐานให้กับผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทุกราย นอกจากนี้ยังดำเนินการจัดหาระบบช่วยบริหารจัดการรถขนส่งสินค้าระหว่างผู้ประกอบการขนส่งหลายๆ ราย โดยมองว่ารถทั้งหมดเสมือนมีเจ้าของเดียวกัน และพยายามลดจำนวนเที่ยวรถเปล่าลง เพื่อให้เกิดการใช้รถขนส่งร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการด้วยกันและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการขนส่งสินค้าอย่างเป็นระบบ และเป็นอัตโนมัติ ปัจจุบันยังได้มีความพยายามค้นคว้าวิจัยเพื่อให้ขบวนรถขนส่งสามารถวิ่งตามกันไปโดยอัตโนมัติโดยมีผู้ขับขี่เพียงคนเดียวที่รถต้นขบวน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งลงไปอีก
7. ระบบสนับสนุนผู้ใช้ทางเท้า  (Support for Pedestrians) ผู้ใช้อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับรถและถนนก็คือผู้ใช้ทางเท้า    ผู้ใช้ทางเท้าในที่นี้หมายความรวมถึงผู้ใช้ทางเท้าทั่วไป คนชรา ผู้ทุพพลภาพ และผู้ใช้จักรยาน จุดประสงค์คือทำให้เกิดความสะดวกสบาย ปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่ดีสำหรับผู้ใช้ทางเท้า ตัวอย่างเทคโนโลยีที่สามารถช่วยเหลือผู้ใช้ทางเท้าได้ เช่น อุปกรณ์นำทางแบบพกพา เซ็นเซอร์สำหรับตรวจจับและรายงานชื่อสถานที่หรือนำทางด้วยเสียงสำหรับคนตาบอด เซ็นเซอร์ตรวจจับคนข้ามถนนเพื่อส่งข้อมูลเตือนแก่ผู้ขับขี่ให้ระมัดระวังและ/หรือควบคุมให้รถหยุดแบบอัตโนมัติ สัญญาณไฟสำหรับคนข้ามถนนที่สามารถปรับเปลี่ยน ช่วงเวลาให้เหมาะสมกับจำนวนและประเภทของคนข้ามได้
its-0013
8. ระบบสนับสนุนสำหรับการทำงานของยานพาหนะในเหตุฉุกเฉิน (Support for Emergency Vehicle Operations)เพื่อรับมือกับเหตุฉุกเฉินและดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติหรืออุบัติเหตุบนท้องถนน ได้รวดเร็วทันการและเหมาะสม รถที่ประสบเหตุจะมีอุปกรณ์ติดในรถ ที่สามารถแจ้งเหตุและสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ เพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่หน่วยงานที่รับผิดชอบในการเตรียมการ เช่น ระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุ ลักษณะของอุบัติเหตุ จำนวนผู้โดยสารในรถ จำนวนรถที่เกิดเหตุ ตลอดจนตำแหน่งของรถที่เกิดเหตุขณะนั้น   ระบบนี้อาจก้าวหน้าไปถึงขั้นให้ข้อมูลทางกายภาพของผู้โดยสารและผู้ขับขี่ด้วย เช่น เพศ/วัย ลักษณะการบาดเจ็บ บริเวณกระดูกที่หัก การเสียเลือด การหมดสติ เป็นต้น ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้ให้ความช่วยเหลือสามารถวินิจฉัยได้   ล่วงหน้าหรือระหว่างเดินทางไปยังที่เกิดเหตุ เพื่อลดระยะเวลาที่ต้องใช้ก่อนเข้าถึงและเริ่มดำเนินการช่วยเหลือ หลังจากนั้นข้อมูลสภาพจราจรและสภาพความเสียหายของถนน(กรณีเกิดภัยพิบัติ)  ยังถูกรวบรวมและวิเคราะห์แบบตามเวลาจริงเพื่อส่งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบใช้วางแผนและสามารถเดินทางเข้าสู่พื้นที่เกิดเหตุได้อย่างรวดเร็ว ระบบดังกล่าวยังอาจทำงานร่วมกับศูนย์บริหารจัดการจราจร  เพื่อให้ช่วยจัดการสัญญาณไฟจราจรหรืออำนวยเส้นทางสำหรับรถฉุกเฉินต่างๆ ได้ด้วย
its-0006
( บก.02 : กองบังคับการตำรวจจราจร กองบัญชาการตำรวจนครบาล )

รูปแบบการนำเอา ITS มาใช้งาน ITS ประเทศไทย
การพัฒนาระบบ ITS จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันในแต่ประเทศ ขึ้นอยู่กับวิธีการพัฒนาและการจัดการขนส่งและการจราจรของแต่ละประเทศ ซึ่งทำได้ หลายแนวทาง หลายรูปแบบ และแตกต่างกันไป สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีแนวคิดที่จะนำ ITS เข้ามาใช้ โดยความร่วมมือจากภาครัฐและคณะกรรมการจัดการระบบ ITS ของไทย ได้กำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาระบบ ITS เช่น การจัดทำระบบรายงานจราจรแบบตามเวลาจริง (Real-time) การติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล การจัดตั้งศูนย์ให้บริการข้อมูลจราจร  รวมถึงแผนการติดตั้งระบบถ่ายภาพผู้ฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดงบริเวณทางแยก โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดเข้าสู่เครือข่ายต่างๆ และเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อการประสานงาน และการติดต่อด้วย ข้อมูลที่ทันสมัย ซึ่งในหลายหน่วยงานก็มีแนวทางที่จะนำ ITS มาพัฒนาให้สามารถใช้งานได้อย่างเป็นระบบ
its-0007
( องค์ประกอบต่างๆ ของ ITS ในประเทศไทย )
its-0008
( องค์ประกอบของการได้มาและให้บริการข้อมูลสภาพการจราจร )
its-0009
ภายใต้โปรแกรมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้กำหนดนโยบายในการให้ทุนสนับสนุนการวิจัย  โดยเริ่มตั้งแต่  ปี พ.ศ. 2547 และได้กำหนดเป็นกลยุทธ์สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ได้แก่ Smart sensing, Communications  Information, Platform Safety  ซึ่งการดำเนินการที่ผ่านมานี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร โดยจัดตั้งกลุ่ม Thailand ITS Forum ขึ้น เพื่อเชื่อมโยงทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง( Stakeholders) ภายในประเทศ ได้แก่ ผู้เดินทาง ผู้จัดหาและควบคุมระบบ  ชุมชน หรือผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ให้เกิดการนำข้อมูลและเทคโนโลยีที่มีอยู่ในประเทศมาใช้งานด้านการจราจรและระบบขนส่ง เช่น ระบบประมวลสภาพจราจรจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV)  ระบบนี้จะรายงานข้อมูลสภาพการจราจร โดยนำซอฟต์แวร์และอุปกรณ์มาใช้ประมวลผลภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว  เพื่อให้ได้อัตราเร็ว จำนวน และประเภทรถ พร้อมทั้งรายงานสถิติที่เกี่ยวข้องกับจราจรทั้งสภาพปัจจุบันและย้อนหลัง โดยผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
its-0010
นอกจากนี้ยังมีระบบอื่นๆ ที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการใช้งาน ได้แก่ เครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายสำหรับตรวจนับรถยนต์  ระบบนับสัญญาณเวลาไฟ  ระบบกระจายข้อมูลสภาพการจราจรแบบ Real-time แลโปรแกรมรู้จำป้ายทะเบียนรถ ระบบต่างๆเหล่านี้ ล้วนสามารถเชื่อมโยงและพัฒนาให้สามารถทำงานได้ โดยซอฟต์แวร์ประมวลผลและรายงานผล ที่ต้องอาศัยข้อมูลจากแหล่งต่างๆ จากหลายหน่วยงานมาใช้เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบอัจฉริยะสำหรับการเดินทางที่เกิดขึ้นในอนาค

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม